ยินดีต้อนรับสู่ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้านแผนที่

094-982-5353 8:00 AM - 05:00 PM (Mon-Fri)

ระบบสารสนเทศแผนที่ภาษีฯ สู่แผนที่ระดับจังหวัด

ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์ของข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น

  • การแพร่ขยายของโรคระบาด
  • การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
  • การบุกรุกทำลาย
  • การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่

ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน.

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

แผนที่ GIS ระดับจังหวัด

ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานระดับจังหวัด ตามกรอบพัฒนาเชิงนิเวศ ประกอบด้วย ข้อมูลทางกายภาพ ระบบเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ

แผนที่ GIS ระดับตำบล

เพื่อให้บริการข้อมูลหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมเทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำแผนที่ภาษีฯ และบูรณาข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาของประเทศ

การวิเคราะห์ข้อมูล

แนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคต่างๆ รวมถึงการนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ประกอบการทำงานในองค์กร เปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เป็นต้น

ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

ระบบแผนที่ภาษี MapDeign Manager

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาตร์ เพื่อการจัดทำแผนที่ภาษี

เพื่อให้บริการข้อมูลสำหรับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สนับสนุน ในการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินและจัดเก็บรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความเป็นมืออาชีพ ยกระดับมาตราฐานหน่วยงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานการบูรณาข้อมูลของหน่วยงานใช้ในการวางแผนพัฒนาของประเทศ เพื่อนำไปสู่สำคัญของประเทศได้.

ดังนั้นการใช้ระบงานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถใช้งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องครบถ้วน เป็นธรรมต่อประชาชนและหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ เพื่อสนองนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งการใช้ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินในทั้งถิ่นนั้นถือเป็นการพัฒนาระบบจากรากหญ้า ที่มีระบบ GIS เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เช่นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ด้านสาธารณสุข เป็นต้น

ในที่นี้ผู้พัฒนาระบบได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลที่มีอยู่ จึงได้เกิดโครงการระบบสารสนเทศเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานระดับจังหวัด ตามกรอบพัฒนาเชิงนิเวศ ประกอบด้วย ข้อมูลทางกายภาพ ระบบเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ ที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลของแต่ละหน่วยงานได้เพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสูดต่อประเทศชาตินั่นเอง