ระบบสารสนเทศทางภูมิศาตร์ เพื่อการจัดทำแผนที่ภาษี

เพื่อให้บริการข้อมูลสำหรับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สนับสนุน ในการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินและจัดเก็บรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความเป็นมืออาชีพ ยกระดับมาตราฐานหน่วยงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การบูรณาข้อมูลของหน่วยงานใช้ในการวางแผนพัฒนาของประเทศ เพื่อนำไปสู่สำคัญของประเทศได้

ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศทางแผนที่ GIS จึงสามารถช่วยในการบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ ในด้านการเก็บภาษีฯ พร้อมทั้งนำข้อมูลมาใช้ร่วมกับการตัดสินใจในด้านอื่นได้เป็นอย่างดี ในการร่วมพัฒนาของระบบแผนที่ภาษีนี้ จะนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศในด้านต่าง ๆ ของระดับจังหวัดต่อไป
วัตถุประสงค์โครงการ

เพื่อการจัดทำ/ปรับปรุงระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน (MapDesign Manager System) และ (LTAX LTAX-GIS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน ด้านการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น การให้บริการและการางแผนงานพัฒนาของท้องถิ่น

  • การเตรียมการ

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดเป็นเป้าหมายการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินหรือระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า ด้วยการจัดทำการปรับปรุงการใช้และการเก็บรักษาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ให้ดำเนินการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลบังคับใช้ ดังนั้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมายนั้นๆ ได้เตรียมการในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ เขียนโครงการฯ เตรียมสถานที่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุภัณฑ์ และตั้งศูนย์อำนวยการ เอกสารประกอบการจัดทำแผนที่ภาษี

  • การจัดทำแผนที่แม่บท

    การจัดทำแผนที่แม่บทเป็นจุดเริ่มของการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน(รูปแปลงที่ดิน) ซึ่งจะต้องประสานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดและหรือสำนักงานที่ดินอำเภอ เพื่อขอถ่ายสำเนาระวางแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงต้องมีเอกสารประกอบการจัดทำระวางทาบทับ ได้แก่พระราชกฤษฎีกาหรือประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดสถานที่ตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบรรยายแนวเขตและหลักเขตพร้อมกับแผนที่แนบท้ายหรืออาจใช้แผนที่ผังเมืองก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีมาตราส่วนที่ชัดเจนแน่นอน ซึ่งระวางที่ดินที่ต้องใช้นั้นจะมีมาตรส่วนที่แตกต่างกันไป เช่น ระวางที่ดินตาม มาตราส่วน 1:4,000 มาตราส่วน 1:2,000 มาตราส่วน 1:1,000 มาตราส่วน 1:500 เป็นต้น ส่วนระวาง นส.3ก ใช้มาตราส่วน 1:5,000 เมื่อได้ระวางแล้วให้ทำการขึ้นรูปแผนที่โดยแม่ที่แม่บทนั้นๆ จะต้องมี มาตราส่วน 1:1,000 เป็นหลัก 1 : BLOCK แต่ต้องไม่เกิน 1:4,000 ต่อ 1 : BLOCK

  • การคัดลอกข้อมูลที่ดิน

    การคัดลอกข้อมูลที่ดินใช้ "เลขหน้าสำรวจ" ในระวางแผนที่หรือ "เลขที่ดิน" ในระวางรูปถ่ายทางอากาศเพื่อหาข้อมูลชื่อเจ้าของที่ดิน ที่อยู่ และรายละเอียดของที่ดินแปลงนั้น ๆ จากเอกสารแฟ้มสารบบที่ดิน ได้แก่ ทด.1 ทด.13 รว.9 เป็นต้น ในสำนักงานที่ดินจังหวัดและหรือสำนักงานที่ดินอำเภอข้อมูลดังกล่าวใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจสอบเมื่อเดินสำรวจภาคสนาม

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนาม

    การสำรวจข้อมูลภาคสนามเป็นขั้นตอนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งพนักงานออกสัมภาษณ์ประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน เพื่อเก็บรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ป้าย และ การประกอบกิจการค้าในแปลงที่ดินหนึ่ง โดยใช้แผนที่แม่บทและข้อมูลที่ ดินที่จัดทำขึ้นไว้เป็นพื้นฐานสำหรับการออกเดินภาคสนาม

  • การจัดทำแผนที่ภาษี

    การจัดทำแผนที่ภาษีเป็นขั้นตอนที่นำแผนที่แม่บทที่ผ่านการสำรวจภาคสนามที่ได้ทำการปรับปรุงให้เป็นตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งบอกถึงขนาดรูปร่างของแปลงที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ปรากฎบนแปลงที่ดิน แผนที่แม่บทใช้มาตราส่วน 1:1,000

  • การจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน

    การจัดทำทะเบียนทรัพย์สินเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ป้าย และการประกอบการค้า ที่ได้จากการเดินสำรวจภาคสนาม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ต้องผ่านการตรวจสอบจากพนักงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบก่อนคัดลอกลงในทะเบียนทรัพย์สิน พร้อมกับจัดทำทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี เพื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้ในการจัดเก็บภาษี และเร่งรัดติดตามให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำการประเมินภาษีและค่าธรรมเนียมได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนคุมผู้ชำระภาษีจะต้องจัดทำบัญชีคุมไว้ เพื่อตรวจสอบการสูญหาย

  • การจัดเก็บเอกสารข้อมูล

    เอกสารในระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินประกอบด้วย แผนที่แม่บทและทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี แบบสำรวจข้อมูลภาคสนามและอื่นๆ เอกสารเหล่านี้มีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันทั้งสิ้น จึงต้องจัดเก็บอย่างมีระบบเพื่อประโยชน์ในการปรับข้อมูลและนำไปใช้ในการจัดเก็บรายได้

  • การเตรียมการใช้

    หลังจากจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเสร็จแล้วก่อนการนำแผนที่ภาษีทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนคุมผู้ชำระภาษีไปใช้จัดเก็บภาษี ให้พนักงานท้องถิ่นจัดทำสัญญาลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าของทรัพย์สินรายใดที่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษี และจะต้องชำระภาษีอะไรบ้าง เพื่อสะดวกในการติดตามเร่งรัดและจัดเก็บได้ครบถ้วน

การจัดการพื้นที่แบบบูรณาการ โดยเฉพาะการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นภารกิจที่สําคัญ ซึ่งเป้าหมายที่สําคัญที่สุดคือ ต้องเป็นการพัฒนาที่อยู่บนความสมดุลระหว่างทุกระบบของสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งต้องคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งปัจจัยทางด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางด้านความเสมอภาคและความเท่าเทียม รวมทั้งความสามารถในการพัฒนาและการเจริญเติบโตของชุมชน ซึ่งการประยุกต์ใช้ระบบฐานข้อมูลชุมชนและท้องถิ่นเพื่อการบริหาร ซึ่งพัฒนาบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการจัดการในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ